Sunday, July 28, 2013

เช่ารถไปเที่ยวอำเภอธารโต

สถานที่แรกที่จะแนะนำให้แวะชมก็คือ หมู่บ้านซาไก

         
อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโตจังหวัดยะลา ห่างจากตัวจังหวัดยะลา ไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากถนนใหญ่ลึกเข้าไปกลางขุนเขาประมาณ 4 กิโลเมตร เป็น ที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่เรานิยมเรียกว่า "เงาะ" หรือ "เงาะซาไก" คนมาลายุเรียกว่า "ซาแก" บ้านเรือนของชาวซาไกสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก มีประมาณ 20-30 หลังคาเรือนมีอาชีพในการทำไร่และหาของป่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนา หมู่บ้านแห่งนี้ โดยกรมประชาสงเคราะห์ รวบรวมให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้จำนวน 21 ครอบครัว 52 คน ได้จัดสร้างบ้านให้อยู่อาศัยที่ดีขึ้น ปลูกยางพาราพันธุ์ดีให้ จำนวน 300 ไร่ และได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขอใช้คำว่า "ศรีธารโต" ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ และมีการศึกษาที่ก้าวหน้ามากขึ้น มีครูจากจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน เข้าไปให้ความรู้ ทำให้ชาวซาไกมีความเจริญขึ้นมากครับ แต่มีบางส่วนได้อพยพไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย

สถานที่ที่สองที่จะให้แวะชมก็คือ น้ำตกธารโต

น้ำตกธารโต เป็นน้ำตกที่มีสีขาวสะอาด น้ำตกลงเป็นชั้นลดหลั่นลงมาสวยงามมาก เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จะพบวนอุทยาน และป่าสงวนแห่งชาติมีพื้นที่กว่า 1,000 ไร่เศษ เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สัตว์ป่าและกลิ่นไอธรรมชาติ สงบร่มรื่นเย็นฉ่ำด้วยธารน้ำที่ไหลผ่านหน้าผา 7 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 9 ชั้น ความสูงของน้ำตกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร

สถานที่ที่สามที่จะแนะนำให้แวะชมก็คือ น้ำตกละอองรุ้ง 


น้ำตกละอองรุ้ง เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตติดต่ออำเภอธารโตและอำเภอเบตง ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางยะลา-เบตง ประมาณ 90 กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอเบตงประมาณ 40 กิโลเมตร จะมีถนนดินแยกขวาเข้าน้ำตกไปอีก 100 เมตร ทางเดินเท้าซึ่งลัดเลาะไปตามลำธารเพื่อชมน้ำตกค่อนข้างลื่นควรใช้ความระมัดระวัง

น้ำตกเกิดจากสายน้ำที่ไหลแรงจากยอดเขาตกกระทบก้อนหินเบื้องล่างเกิดเป็น ละอองน้ำฟุ้งกระจายชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ จะดูสวยงามมากยามต้องแสงแดดและเกิดเป็นรุ้งสีสวยอันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก แห่งนี้

  

สถานที่สุดท้ายของอำเภอธารโตจังหวัดยะลา ที่จะให้แวะชมก็คือ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 

หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นหมู่บ้านที่รัฐบาลจัดให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยอยู่อาศัยและมีที่ทำกิน ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งสภาพพื้นที่ของ หมู่บ้านเป็นป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่านานาชนิดมากมาย มีประชากรจำนวน 289 คน เป็นชาย 139 คน และหญิง 150 คนจำนวน 140 ครัวเรือน ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีมีถึง 30.67 เปอร์เซ็นต์ แต่ละครัวเรือนมีแรงงาน 1-2 คน มีพื้นที่ถือครองครัวเรือนละ 16 ไร่ ใช้ปลูกยาง 15 ไร่อีก 1 ไร่ใช้เป็นที่ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนอาศัย และเป็นที่ปลูกไม้ผลสวนผสมโดยปลูกทุเรียนร่วมกับลองกองมากกว่าอย่างอื่น และส่วนใหญ่แต่ละครัวเรือนเลี้ยงไก่น้อยกว่า 11 ตัว ได้รับความรู้ทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาและสำนักงานเกษตรอำเภอธารโต โดยใช้เงินของตนเองลงทุนทำการเกษตร ในการปลูกยางพาราเกษตรกรจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-11-18 อัตรา 27 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่การปลูกไม้ผลใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร และปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ใช้สารเคมีและไม่มีระบบน้ำที่เหมาะสม แต่มีการตัดแต่งกิ่งไม้ผลโดยเฉพาะทุเรียน ผลผลิตยางพาราทำเป็นยางแผ่นดิบผึ่งแห้ง เกษตรกรต่างคนต่างนำไปขายที่ตลาดตัวเมืองยะลา
สำหรับรายได้ของเกษตรกรอยู่ระหว่าง 20001-30000 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ได้จากการทำสวนยางพารา เกษตรกรยังมีปัญหาและความต้องการความรู้ด้านการผลิต และการจัดการเกี่ยวกับไม้ผล ไม้ดอก พืชสมุนไพร การเลี้ยงกวาง สุกร เป็ดและไก่ ต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เงินทุนหมุนเวียนหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและต้องการให้หมู่บ้านเป็นแหล่งท่อง เที่ยว 


คิดว่าโปรแกรมการท่องเที่ยวใน 1 วันสำหรับอำเภอธารโตก็น่าจะอิ่มใจ แต่อย่าลืมไปนอนที่อำเภอเบตง เมืองงามชายแดนใต้ สัก 1 คืน

No comments:

Post a Comment