Sunday, July 21, 2013

แนะสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเบตง

เมืองเบตง : เบตง เป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทย ตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2441 คำว่า "เบตง" (Betong) มาจากภาษามลายูว่า "Buluh Betong" หมายถึง ไม้ไผ่ หรือ ไผ่ตง
           เดิม พื้นที่ที่เป็นอำเภอเบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามันซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่า อำเภอยะรม (ตั้งอยู่บ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ)
           ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 จากผลการปักปันแดนระหว่างไทยกับมลายา (อาณานิคมของอังกฤษ) เป็นเหตุให้ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ) รวม 4 ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภยะรมไปรวมอยู่กับรัฐเประในมลายา อำเภอยะรมจึงเหลือการปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลเบตงและตำบลยะรม ต่อมาได้มีการจัดตั้งตำบลอัยเยอร์เวงและตำบลฮาลา ซึ่งจากหลักฐานปรากฏว่า มีตำบลอัยเยอร์เวงในปี พ.ศ. 2462 และมีตำบลฮาลาในปี พ.ศ. 2486
          ต่อมาอีก 21 ปี ในปี พ.ศ. 2473 สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น อำเภอเบตง ซึ่งเป็นภาษามาเลย์ มีความหมายว่า "ไม้ไผ่" (ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรเบตงปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2481 ได้ตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ ปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตงโดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด
          ต่อมาเมื่อ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยประกาศตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครองรวม 5 ตำบล คือ ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลธารน้ำทิพย์จนถึงปัจจุบัน
          ต่อมาได้ ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 มาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่

          เมืองเบตง เป็นอำเภอชายแดนใต้สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากยะลา 115 กม. เบตงเป็นเมืองใหญ่ มีความเจริญ ทัดเทียมกับจังหวัดยะลาเลยทีเดียว มีอาคารร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมมากมาย มีถนนเชื่อมสู่เขตสหพันธรัฐ มาเลเซียตรงด่านเบตงซึ่งอยู่ใต้สุดของเขตแดนไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ในเขตที่โอบล้อมด้วยทิวเขาสูงอากาศเย็นสบาย สามารถปลูกดอกไม้ได้ทั้งปี "จนได้ชื่อว่าเมืองในหมอก ดอกไม้งาม" มีนกนางแอ่นเป็นสัญลักษณ์ของเมือง ช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม จะมีนกนางแอ่นมาพักอาศัยในเมืองนี้นับหมื่นตัว

 บ่อน้ำร้อนเบตง



           บ่อน้ำร้อนเบตง เป็นปากฎการณ์ ตามธรรมชาติ ที่มี น้ำพุร้อน ผุดขึ้นมาจาก ภายใต้ พื้นผิวของโลก ในบริเวณที่มี น้ำพุร้อน เดือดนั้นสามารถต้มไข่ให้สุกได้ภายใน เวลาไม่เกิน 7 นาที ซึ่งชาวบ้านในจังหวัดยะลา มีความเชื่อกันว่า บ่อน้ำร้อนเบตง ที่มีน้ำพุร้อนเกิดขึ้นในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลานั้น เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคผิวหนัง สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ บ่อน้ำร้อนเบตง มีสถานที่ไว้สำหรับ ให้นักท่องเที่ยวได้ อาบน้ำร้อน







น้ำตกอินทสร อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตง 15 กิโลเมตร หรือเลยจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากภูเขา รอบบริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ร่มรื่น และมีแอ่งน้ำสามารถว่ายน้ำเล่นและพักผ่อนได้เป็นอย่างดี

  















อุโมงค์ปิยะมิตรเบตง  

             อุโมงค์ปิยะมิตร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เข้าทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนเบตงและน้ำตกอินทสร อยู่เลยบ่อน้ำร้อนอีก 3 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ที่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรืออดีตกลุ่มโจรคอมมิ วนิสต์มลายา (จคม.) สร้างขึ้นเป็นฐานของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เขต 2 เมื่อปี พ.ศ. 2519 ใช้หลบการโจมตีทางอากาศและสะสมเสบียง การสร้างใช้กำลังคน 40 - 50 คน ขุดเข้าไปในภูเขา และใช้เวลาเพียง 3 เดือน จึงแล้วเสร็จ อุโมงค์มีความกว้าง 50-60 ฟุต ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถจุคนได้เกือบ 200 คน มีทางเข้าออกทั้งหมด 9 ทาง เชื่อมต่อถึงกันหมด ปัจจุบันเหลือ 6 ทาง ภายในมีสถานีวิทยุของ จคม. ห้องนอน ห้องเก็บเสบียง มีซอกมีมุมให้เลี้ยวลัดเลาะ ด้านบนเป็นป่ารกมีต้นไม้ใหญ่มากมายปกคลุม ยากแก่การค้นหาและถูกค้นพบโดยทหารฝ่ายรัฐบาล ในปัจจุบันได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 - 16.30 น. การท่องเที่ยวอุโมงค์ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง มีการติดตั้งไฟฟ้าตลอดแนวอุโมงค์ อากาศภายในเย็นสบายไม่อึดอัด บริเวณทางเข้าสองข้างทางเต็มไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ และมีแอ่งน้ำที่ไหลมาจากภูเขา ด้านนอกอุโมงค์ซึ่งเคยเป็นลานฝึกทหารจัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพและเรื่องราว ประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตในป่า นอกจากนี้ ยังมีเห็ดและยาสมุนไพรจากป่าจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว


         
ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเบตง บนถนนสุขยางค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดย คุณสงวน จิระจินดา อดีตนายไปรษณีย์ โทรเลขอำเภอเบตง เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเบตงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ตู้ไปรษณีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปกลมทรงกระบอก แยกได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนฐานและส่วนตัวตู้ ส่วนสูงของตัวตู้คือ 290 เซนติเมตร หากนับจาก ฐานขึ้นไปรวมความสูงของตู้ด้วยวัดได้ 320 เซนติเมตร ปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ใบนี้ก็ยังคงใช้งานอยู่

No comments:

Post a Comment