วันนี้สถานที่ที่จะแนะนำคือ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา
เขื่อนบางลาง กั้นแม่น้ำปัตตานี ที่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ห่างจากตัวอำเภอเมือง 58 กิโลเมตร
ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถม แกนดินเหนียว มีความสูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 430 เมตร กว้าง 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตร
เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา
โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลางนับเป็นโครงการอเนกประสงค์แห่งหนึ่งตามแผนพัฒนา
ลุ่มน้ำปัตตานี โครงการนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ได้เข้ามาดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม
เพื่อใช้ประกอบการออกแบบงานด้านวิศวกรรมศาสตร์เรื่อยมา
โดยให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคส่วนนี้ ต่อมา
คณะรัฐมนตรีได้มีอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ดำเนินการก่อสร้างงานโครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ ๓ เมษายน
2516 โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ
เช่น การจัดหาแหล่งที่มาของการลงทุน การจัดทำรายละเอียด
การเรียกประกวดราคางานก่อสร้างด้านโยธาของโครงการและอุปกรณ์เครื่องจักร
ต่างๆ
เขื่อนบางลาง เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
2519 แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2524 เขื่อนบางลาง
เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ การก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ก็ด้วยความเสียสละ ร่วมมือ ร่วมใจ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งจากราษฎรในพื้นที่ หน่วยงานราชการต่างๆ
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่
เขื่อนแห่งนี้จึงมีขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้ของประเทศ
อย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524
รายละเอียดสามารถไปดูในเพจนี้ได้ https://www.facebook.com/KheuxnBangLang
Rental Cars in Yala , Pattani , Narathiwat and Songkhla บริการ รถเช่าในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา
Wednesday, July 31, 2013
Tuesday, July 30, 2013
เที่ยวป่า ฮาลา บาลา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ได้รับการประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2539 อันเป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทิวเขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลาเป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้ จะเป็นป่าบาลาเท่านั้น ป่าบาลามีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีการตัดถนนสายความมั่นคง (ทางหลวงหมายเลข 4062) ไปตามเทือกเขาสันกาลาคีรี ทำให้การเข้าถึงพื้นที่ป่าง่ายขึ้น เริ่มจากบ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง ตัดผ่านป่าบาลาและไปสิ้นสุดที่ บ้านภูเขาทองในอำเภอสุคิริน รวมระยะทาง 18 กิโลเมตร สองข้างทางมีสภาพเป็นป่าดงดิบที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย สำหรับการศึกษาธรรมชาติที่นี่เพียงขับรถไปตามถนนสายความมั่นคงก็จะได้ชมสิ่ง พิเศษมากมาย เริ่มจากที่ทำการเขตฯ เป็นต้นไป
ห่างจากสำนักงานมาประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีจุดชมสัตว์ บริเวณนี้จะมีต้นไทรขึ้นอยู่มาก และสัตว์มักจะมาหากินลูกไทรเป็นอาหาร ตรงเข้ามาอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จะพบที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ภูเขาทองซึ่งเป็นหน่วยย่อยของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายดังกล่าว จะเป็นทำเลที่สามารถเห็นทะเลหมอกอีกจุดหนึ่ง จากจุดนี้เดินเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะพบ ต้นสมพง(กระพง)ยักษ์ ขนาดเส้นรอบวง 25 เมตร ความสูงของพูพอน(ส่วนที่อยู่โคนต้นไม้เป็นปีกแผ่ออกไปรอบๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นไม้ใหญ่ที่อยู่ริมน้ำ เพราะจะช่วยในการพยุงลำต้น) สูงประมาณ 4 เมตร ต้นสมพงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามริมน้ำ เป็นไม้เนื้ออ่อนใช้ทำไม้จิ้มฟัน หรือไม้ขีด
สองข้างทางจะได้เห็นพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่ไม่อาจหาชมได้ง่าย ๆ จากที่อื่นในเมืองไทย เช่น ต้นยวน ไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่วที่สวยเด่นสะดุดตา เห็นได้แต่ไกลจากถนน ด้วยผิวเปลือกที่ขาวนวล และรูปร่างที่สูงชะลูด สามารถสูงได้ถึง 65-70 เมตร ถือว่ามีความสูงเป็นอันดับสามของโลก รองจากต้นเรดวูด และยูคาลิบตัส มักถูกตัดไปทำเฟอร์นิเจอร์ ต้นสยา ไม้ในวงศ์ยางซึ่งเป็นไม้เด่นของป่าฮาลา-บาลา จากจุดชมวิวจะเห็นเรือนยอดของต้นสยาขึ้นเบียดเสียดกัน ถ้าซุ่มสังเกตดี ๆ อาจจะได้พบนกเงือก เพราะต้นสยานี้เองที่เป็นแหล่งทำรังสำคัญของนกเงือก
ต้นหัวร้อยรูหนาม เป็นหนึ่งในบรรดาพืชที่พบ เป็นรายงานใหม่สำหรับประเทศไทย ฯลฯ
ยังมีสัตว์ป่าที่ทำให้ป่าแห่งนี้มีความสมดุลทางระบบนิเวศน์ได้ สัตว์ที่อาศัยอยู่ที่นี่หลายชนิดเป็นสัตว์ที่หายากในไทย เช่น ชะนีดำใหญ่ หรือ เซียมัง มีสีดำตลอดตัว และมีขนาดใหญ่กว่าชะนีธรรมดาเกือบเท่าตัว ชะนีมือดำ ซึ่งปกติจะพบเฉพาะในป่าบนเกาะสุมาตรา บอร์เนียว และป่าบริเวณทางเหนือของมาเลเซียถึงทางใต้ของไทยเท่านั้น บางครั้งอาจจะโชคดีได้พบเจ้าสองตัวนี้เกาะอยู่บนยอดกิ่งไม้ นอกจากนั้นยังมี กบทูด ซึ่งเป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความยาวจากปลายปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง และจากการสำรวจพบสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิด คือ เลียงผา สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน และ กระซู่ นกเงือกซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่า และเป็นนกหายากชนิดหนึ่ง แต่ในป่านี้พบถึง 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงือกปากย่น นกเงือกชนหิน(เป็นนกเงือกชนิดเดียวที่มีโหนกแข็งทึบ ชาวบ้านในอินโดนีเซียจึงล่านกชนหินเพื่อเอาโหนกไปแกะสลักอย่างงาช้าง) นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง ฤดูที่เหมาะสมที่สุด คือ กุมภาพันธ์-เมษายน
ผู้ที่มีความประสงค์เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาธรรมชาติ ต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์มาล่วงหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าฮาลา-บาลา ตู้ ป.ณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 96160 หรือฝ่ายกิจการเขตรักษาพันธุ์ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 7351 9202
สิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยพื้นที่เขตรักษาพันธุ์เป็นพื้นที่เปราะบาง จึงไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปพักแรม
การเดินทาง สามารถเหมารถสองแถวได้ที่ตลาดอำเภอแว้ง หรือสถานีรถไฟสุไหงโกลก หรือขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 4057 มุ่งหน้าไปยังอำเภอแว้ง จนถึงบ้านบูเก๊ะตา จะมีป้ายบอกทางให้ขับต่อไปทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
ฤดูกาลที่เหมาะแก่การไปศึกษาธรรมชาติที่นี่คือตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกันยายน ซึ่งจะมีฝนตกลงมาไม่มากเกินไปนัก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ยะลา เป็นป่าดิบชื้นที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ สัตว์ป่าและนกหายากนานาชนิด และเป็นที่อาศัยของคนป่าเผ่าซาไก มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ในแนวรอยต่อระหว่างจังหวัดยะลาและนราธิวาส เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำในเขื่อนบางลาง นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมธรรมชาติของขุนเขา ป่าไม้และสายน้ำ โดยติดต่อเช่าเรือได้ที่ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 ถนนสุขยางค์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจกิจกรรมศึกษาธรรมชาติให้ทำหนังสือล่วงหน้าถึงที่ ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ล่วงหน้า 15 วัน ที่ตู้ ป.ณ.3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 96160
Sunday, July 28, 2013
เช่ารถไปเที่ยวอำเภอธารโต
สถานที่แรกที่จะแนะนำให้แวะชมก็คือ หมู่บ้านซาไก
อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโตจังหวัดยะลา ห่างจากตัวจังหวัดยะลา ไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากถนนใหญ่ลึกเข้าไปกลางขุนเขาประมาณ 4 กิโลเมตร เป็น ที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่เรานิยมเรียกว่า "เงาะ" หรือ "เงาะซาไก" คนมาลายุเรียกว่า "ซาแก" บ้านเรือนของชาวซาไกสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก มีประมาณ 20-30 หลังคาเรือนมีอาชีพในการทำไร่และหาของป่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนา หมู่บ้านแห่งนี้ โดยกรมประชาสงเคราะห์ รวบรวมให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้จำนวน 21 ครอบครัว 52 คน ได้จัดสร้างบ้านให้อยู่อาศัยที่ดีขึ้น ปลูกยางพาราพันธุ์ดีให้ จำนวน 300 ไร่ และได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขอใช้คำว่า "ศรีธารโต" ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ และมีการศึกษาที่ก้าวหน้ามากขึ้น มีครูจากจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน เข้าไปให้ความรู้ ทำให้ชาวซาไกมีความเจริญขึ้นมากครับ แต่มีบางส่วนได้อพยพไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย
สถานที่ที่สองที่จะให้แวะชมก็คือ น้ำตกธารโต
น้ำตกธารโต เป็นน้ำตกที่มีสีขาวสะอาด น้ำตกลงเป็นชั้นลดหลั่นลงมาสวยงามมาก เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จะพบวนอุทยาน และป่าสงวนแห่งชาติมีพื้นที่กว่า 1,000 ไร่เศษ เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สัตว์ป่าและกลิ่นไอธรรมชาติ สงบร่มรื่นเย็นฉ่ำด้วยธารน้ำที่ไหลผ่านหน้าผา 7 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 9 ชั้น ความสูงของน้ำตกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตรสถานที่ที่สามที่จะแนะนำให้แวะชมก็คือ น้ำตกละอองรุ้ง
น้ำตกละอองรุ้ง เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตติดต่ออำเภอธารโตและอำเภอเบตง ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางยะลา-เบตง ประมาณ 90 กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอเบตงประมาณ 40 กิโลเมตร จะมีถนนดินแยกขวาเข้าน้ำตกไปอีก 100 เมตร ทางเดินเท้าซึ่งลัดเลาะไปตามลำธารเพื่อชมน้ำตกค่อนข้างลื่นควรใช้ความระมัดระวัง
น้ำตกเกิดจากสายน้ำที่ไหลแรงจากยอดเขาตกกระทบก้อนหินเบื้องล่างเกิดเป็น ละอองน้ำฟุ้งกระจายชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ จะดูสวยงามมากยามต้องแสงแดดและเกิดเป็นรุ้งสีสวยอันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก แห่งนี้
สถานที่สุดท้ายของอำเภอธารโตจังหวัดยะลา ที่จะให้แวะชมก็คือ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9
หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นหมู่บ้านที่รัฐบาลจัดให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยอยู่อาศัยและมีที่ทำกิน ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งสภาพพื้นที่ของ หมู่บ้านเป็นป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่านานาชนิดมากมาย มีประชากรจำนวน 289 คน เป็นชาย 139 คน และหญิง 150 คนจำนวน 140 ครัวเรือน ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีมีถึง 30.67 เปอร์เซ็นต์ แต่ละครัวเรือนมีแรงงาน 1-2 คน มีพื้นที่ถือครองครัวเรือนละ 16 ไร่ ใช้ปลูกยาง 15 ไร่อีก 1 ไร่ใช้เป็นที่ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนอาศัย และเป็นที่ปลูกไม้ผลสวนผสมโดยปลูกทุเรียนร่วมกับลองกองมากกว่าอย่างอื่น และส่วนใหญ่แต่ละครัวเรือนเลี้ยงไก่น้อยกว่า 11 ตัว ได้รับความรู้ทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาและสำนักงานเกษตรอำเภอธารโต โดยใช้เงินของตนเองลงทุนทำการเกษตร ในการปลูกยางพาราเกษตรกรจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-11-18 อัตรา 27 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่การปลูกไม้ผลใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร และปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ใช้สารเคมีและไม่มีระบบน้ำที่เหมาะสม แต่มีการตัดแต่งกิ่งไม้ผลโดยเฉพาะทุเรียน ผลผลิตยางพาราทำเป็นยางแผ่นดิบผึ่งแห้ง เกษตรกรต่างคนต่างนำไปขายที่ตลาดตัวเมืองยะลาสำหรับรายได้ของเกษตรกรอยู่ระหว่าง 20001-30000 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ได้จากการทำสวนยางพารา เกษตรกรยังมีปัญหาและความต้องการความรู้ด้านการผลิต และการจัดการเกี่ยวกับไม้ผล ไม้ดอก พืชสมุนไพร การเลี้ยงกวาง สุกร เป็ดและไก่ ต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เงินทุนหมุนเวียนหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและต้องการให้หมู่บ้านเป็นแหล่งท่อง เที่ยว
คิดว่าโปรแกรมการท่องเที่ยวใน 1 วันสำหรับอำเภอธารโตก็น่าจะอิ่มใจ แต่อย่าลืมไปนอนที่อำเภอเบตง เมืองงามชายแดนใต้ สัก 1 คืน
Sunday, July 21, 2013
แนะสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเบตง
เมืองเบตง : เบตง
เป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทย
ตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2441 คำว่า "เบตง" (Betong) มาจากภาษามลายูว่า
"Buluh Betong" หมายถึง ไม้ไผ่ หรือ ไผ่ตง
เดิม พื้นที่ที่เป็นอำเภอเบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามันซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่า อำเภอยะรม (ตั้งอยู่บ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 จากผลการปักปันแดนระหว่างไทยกับมลายา (อาณานิคมของอังกฤษ) เป็นเหตุให้ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ) รวม 4 ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภยะรมไปรวมอยู่กับรัฐเประในมลายา อำเภอยะรมจึงเหลือการปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลเบตงและตำบลยะรม ต่อมาได้มีการจัดตั้งตำบลอัยเยอร์เวงและตำบลฮาลา ซึ่งจากหลักฐานปรากฏว่า มีตำบลอัยเยอร์เวงในปี พ.ศ. 2462 และมีตำบลฮาลาในปี พ.ศ. 2486
ต่อมาอีก 21 ปี ในปี พ.ศ. 2473 สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น อำเภอเบตง ซึ่งเป็นภาษามาเลย์ มีความหมายว่า "ไม้ไผ่" (ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรเบตงปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2481 ได้ตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ ปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตงโดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด
ต่อมาเมื่อ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยประกาศตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครองรวม 5 ตำบล คือ ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลธารน้ำทิพย์จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาได้ ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 มาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่
เมืองเบตง เป็นอำเภอชายแดนใต้สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากยะลา 115 กม. เบตงเป็นเมืองใหญ่ มีความเจริญ ทัดเทียมกับจังหวัดยะลาเลยทีเดียว มีอาคารร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมมากมาย มีถนนเชื่อมสู่เขตสหพันธรัฐ มาเลเซียตรงด่านเบตงซึ่งอยู่ใต้สุดของเขตแดนไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ในเขตที่โอบล้อมด้วยทิวเขาสูงอากาศเย็นสบาย สามารถปลูกดอกไม้ได้ทั้งปี "จนได้ชื่อว่าเมืองในหมอก ดอกไม้งาม" มีนกนางแอ่นเป็นสัญลักษณ์ของเมือง ช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม จะมีนกนางแอ่นมาพักอาศัยในเมืองนี้นับหมื่นตัว
บ่อน้ำร้อนเบตง เป็นปากฎการณ์ ตามธรรมชาติ ที่มี น้ำพุร้อน ผุดขึ้นมาจาก ภายใต้ พื้นผิวของโลก ในบริเวณที่มี น้ำพุร้อน เดือดนั้นสามารถต้มไข่ให้สุกได้ภายใน เวลาไม่เกิน 7 นาที ซึ่งชาวบ้านในจังหวัดยะลา มีความเชื่อกันว่า บ่อน้ำร้อนเบตง ที่มีน้ำพุร้อนเกิดขึ้นในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลานั้น เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคผิวหนัง สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ บ่อน้ำร้อนเบตง มีสถานที่ไว้สำหรับ ให้นักท่องเที่ยวได้ อาบน้ำร้อน
น้ำตกอินทสร อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตง 15 กิโลเมตร หรือเลยจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากภูเขา รอบบริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ร่มรื่น และมีแอ่งน้ำสามารถว่ายน้ำเล่นและพักผ่อนได้เป็นอย่างดี
ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเบตง บนถนนสุขยางค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดย คุณสงวน จิระจินดา อดีตนายไปรษณีย์ โทรเลขอำเภอเบตง เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเบตงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ตู้ไปรษณีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปกลมทรงกระบอก แยกได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนฐานและส่วนตัวตู้ ส่วนสูงของตัวตู้คือ 290 เซนติเมตร หากนับจาก ฐานขึ้นไปรวมความสูงของตู้ด้วยวัดได้ 320 เซนติเมตร ปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ใบนี้ก็ยังคงใช้งานอยู่
เดิม พื้นที่ที่เป็นอำเภอเบตงขึ้นอยู่กับเมืองรามันซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่า อำเภอยะรม (ตั้งอยู่บ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 จากผลการปักปันแดนระหว่างไทยกับมลายา (อาณานิคมของอังกฤษ) เป็นเหตุให้ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ (โกร๊ะ) รวม 4 ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภยะรมไปรวมอยู่กับรัฐเประในมลายา อำเภอยะรมจึงเหลือการปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลเบตงและตำบลยะรม ต่อมาได้มีการจัดตั้งตำบลอัยเยอร์เวงและตำบลฮาลา ซึ่งจากหลักฐานปรากฏว่า มีตำบลอัยเยอร์เวงในปี พ.ศ. 2462 และมีตำบลฮาลาในปี พ.ศ. 2486
ต่อมาอีก 21 ปี ในปี พ.ศ. 2473 สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น อำเภอเบตง ซึ่งเป็นภาษามาเลย์ มีความหมายว่า "ไม้ไผ่" (ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรเบตงปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2481 ได้ตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ ปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตงโดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด
ต่อมาเมื่อ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยประกาศตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครองรวม 5 ตำบล คือ ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลธารน้ำทิพย์จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาได้ ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 มาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่
เมืองเบตง เป็นอำเภอชายแดนใต้สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากยะลา 115 กม. เบตงเป็นเมืองใหญ่ มีความเจริญ ทัดเทียมกับจังหวัดยะลาเลยทีเดียว มีอาคารร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมมากมาย มีถนนเชื่อมสู่เขตสหพันธรัฐ มาเลเซียตรงด่านเบตงซึ่งอยู่ใต้สุดของเขตแดนไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ในเขตที่โอบล้อมด้วยทิวเขาสูงอากาศเย็นสบาย สามารถปลูกดอกไม้ได้ทั้งปี "จนได้ชื่อว่าเมืองในหมอก ดอกไม้งาม" มีนกนางแอ่นเป็นสัญลักษณ์ของเมือง ช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม จะมีนกนางแอ่นมาพักอาศัยในเมืองนี้นับหมื่นตัว
บ่อน้ำร้อนเบตง
บ่อน้ำร้อนเบตง เป็นปากฎการณ์ ตามธรรมชาติ ที่มี น้ำพุร้อน ผุดขึ้นมาจาก ภายใต้ พื้นผิวของโลก ในบริเวณที่มี น้ำพุร้อน เดือดนั้นสามารถต้มไข่ให้สุกได้ภายใน เวลาไม่เกิน 7 นาที ซึ่งชาวบ้านในจังหวัดยะลา มีความเชื่อกันว่า บ่อน้ำร้อนเบตง ที่มีน้ำพุร้อนเกิดขึ้นในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลานั้น เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคผิวหนัง สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ บ่อน้ำร้อนเบตง มีสถานที่ไว้สำหรับ ให้นักท่องเที่ยวได้ อาบน้ำร้อน
น้ำตกอินทสร อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตง 15 กิโลเมตร หรือเลยจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากภูเขา รอบบริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ร่มรื่น และมีแอ่งน้ำสามารถว่ายน้ำเล่นและพักผ่อนได้เป็นอย่างดี
อุโมงค์ปิยะมิตรเบตง
อุโมงค์ปิยะมิตร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เข้าทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนเบตงและน้ำตกอินทสร อยู่เลยบ่อน้ำร้อนอีก 3 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ที่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรืออดีตกลุ่มโจรคอมมิ วนิสต์มลายา (จคม.) สร้างขึ้นเป็นฐานของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เขต 2 เมื่อปี พ.ศ. 2519 ใช้หลบการโจมตีทางอากาศและสะสมเสบียง การสร้างใช้กำลังคน 40 - 50 คน ขุดเข้าไปในภูเขา และใช้เวลาเพียง 3 เดือน จึงแล้วเสร็จ อุโมงค์มีความกว้าง 50-60 ฟุต ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถจุคนได้เกือบ 200 คน มีทางเข้าออกทั้งหมด 9 ทาง เชื่อมต่อถึงกันหมด ปัจจุบันเหลือ 6 ทาง ภายในมีสถานีวิทยุของ จคม. ห้องนอน ห้องเก็บเสบียง มีซอกมีมุมให้เลี้ยวลัดเลาะ ด้านบนเป็นป่ารกมีต้นไม้ใหญ่มากมายปกคลุม ยากแก่การค้นหาและถูกค้นพบโดยทหารฝ่ายรัฐบาล ในปัจจุบันได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 - 16.30 น. การท่องเที่ยวอุโมงค์ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง มีการติดตั้งไฟฟ้าตลอดแนวอุโมงค์ อากาศภายในเย็นสบายไม่อึดอัด บริเวณทางเข้าสองข้างทางเต็มไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ และมีแอ่งน้ำที่ไหลมาจากภูเขา ด้านนอกอุโมงค์ซึ่งเคยเป็นลานฝึกทหารจัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพและเรื่องราว ประวัติศาสตร์ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตในป่า นอกจากนี้ ยังมีเห็ดและยาสมุนไพรจากป่าจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเบตง บนถนนสุขยางค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดย คุณสงวน จิระจินดา อดีตนายไปรษณีย์ โทรเลขอำเภอเบตง เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเบตงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ตู้ไปรษณีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปกลมทรงกระบอก แยกได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนฐานและส่วนตัวตู้ ส่วนสูงของตัวตู้คือ 290 เซนติเมตร หากนับจาก ฐานขึ้นไปรวมความสูงของตู้ด้วยวัดได้ 320 เซนติเมตร ปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ใบนี้ก็ยังคงใช้งานอยู่
Monday, July 15, 2013
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมือยะลา
อำเภอเมืองยะลา
สถานที่ที่น่าท่องเที่ยวในอำเภอเมือง ได้แก่
1. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง :
เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวยะลา ตั้งอยู่ใจกลางวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2505 ภายในศาลประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง 50 ซม. วัดโดยรอบฐาน 43 นิ้ว ที่ปลาย 36 นิ้ว พระเศียรยอดเสาเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์และเปลวไฟ บริเวณโดยรอบจัด เป็นสวนสาธารณะร่มรื่นสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ในวันที่ 25 พฤษภาคม 4 มิถุนายน ของทุกปี
2. สวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก :
สวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก ตั้งอยู่ใกล้กับสวนขวัญเมืองสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่ง บนเนื้อที่ 70 ไร่ ประกอบด้วยสระน้ำ ศาลากลางน้ำ รูปปั้นสัตว์ชนิดต่างๆ สนามเด็กเล่น สนามเทนนิส สนามแบดมินตัน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สำหรับคลายความตึงเครียดจากหน้าที่การงาน และเทศบาลยังได้สร้างสวนน้ำ เพื่อให้เยาวชนชาวยะลามาว่ายน้ำออกกำลังกาย ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน เพราะออกแบบได้กลมกลืนกับสวนสาธารณะ มีที่นั่งพักผ่อนสำหรับผู้ปกครองในขณะรอลูกหลานด้วย นอกจากนั้นยังมี อาคารช้างเผือก “พระเศวตสุรคชาธาร” โรงพละศึกษา 4,000 ที่นั่ง ปรับอากาศโอ่อ่า สวยงาม มาตรฐานระดับนานาชาติ สำหรับการแข่งขันกีฬา และการประชุม
3. สวนขวัญเมืองยะลา :
สวนขวัญเมือง (พรุบาโกย) ห่างจากศาลากลางจังหวัดยะลา ประมาณ 300 เมตร สถานที่พักผ่อนหย่อนใจกลางเมือง ที่ใหญ่ที่สุดและสมบูรณ์แบบแห่งหนึ่ง บนเนื้อที่ 207 ไร่ ทะเลสาบจำลองขนาดใหญ่ โขดหินจัดวางไว้อย่างสวยงามไม่แพ้เมืองอื่น นับเป็นศักดิ์ศรีและความภูมิใจของชาวยะลา ที่มีสวนสาธารณะกว้างใหญ่อยู่ใจกลางเมือง
4. สวนศรีเมือง :
เทศบาลนครยะลาได้รับเงินงบประมาณอุดหนุน (กระตุ้นเศรษฐกิจ) จากรัฐบาล จำนวน 99 ล้านบาท ในปี 2545 เพื่อปรับปรุงก่อสร้างคันกั้นน้ำและโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมแม่น้ำปัตตานี จากบริเวณตลาดเมืองใหม่ถึงบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทำให้ชาวยะลามีสวนสาธารณะแห่งใหม่ล่าสุดต้อนรับปี 2546 เริ่มตั้งแต่พื้นที่บริเวณอาคารคิวจอดรถรวมของเทศบาลใกล้ตลาดเมืองใหม่ที่มีพื้นที่ ลานสำหรับจัดกิจกรรมมีน้ำพุ ลานนั่งชมการแสดง จุดสำหรับจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม สนามเด็กเล่น ลานจอดรถบริเวณริมน้ำ จุดนี้มีบันไดลงท่าน้ำเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ เป็นท่าเรือ ในส่วนของพื้นที่ริมน้ำตลอดระยะทาง 2 กิโลเมตร มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และมีเก้าอี้สำหรับพักผ่อนชมวิว มีจุดจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ใกล้สามแยกพุทธภูมิวิถี (ใกล้ร้านย่งฮวด) ถัดไปจะมีสวนหย่อมริมน้ำ ทางเดินริมน้ำ สำหรับบริเวณใกล้สะพานข้ามทางรถไฟมีลานอเนกประสงค์ สำหรับจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย มีสวนหย่อมขนาดใหญ่ มีเก้าอี้นั่งพักผ่อนและลานจอดรถอำนวยความสะดวกอีกด้วย
5. สวนมิ่งเมืองยะลา :
ปี 2545 เทศบาลนครยะลา ได้ดำเนินการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง (แบเมาะพัฒนา) โดยเริ่มจากทางเข้าเมือง (ก่อนถึงป้อมตำรวจบ้านจารู) มาออกถนนสี่เลนใกล้สะพานเฉลิมพระเกียรติ ฯ เพื่อเชื่อมกับถนน ผังเมือง 4 ซึ่งสวนสาธารณะมิ่งเมือง มีความยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มาเป็นประธานเปิดถนนสวนสาธารณะมิ่งเมือง เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2546 สวนสาธารณะแห่งนี้มี 4 แห่ง คือ สวนมิ่งเมือง 1 – 4 หรือ บาโร๊ะบารู 1 – 4 นับเป็นสวนแห่งใหม่สำหรับชาวตลาดเก่าและชาวยะลาอีกแห่งหนึ่ง
6. สวนน้ำเทศบาลนครยะลา :
สวนน้ำเทศบาลนครยะลาตั้งอยู่ในบริเวณสนามโรงพิธิช้างเผือก เป็นสระว่ายน้ำสำหรับเด็กเล็กได้มาฝึกว่ายน้ำ จะมีอาจารย์สอนว่ายน้ำประจำอยู่ที่สระทุกวันจันทร์-ศุกร์ และมีมุมห้องสมุดให้ผู้ปกครองสามารถนั่งอ่านหนังสือขณะที่รอเด็กๆว่ายน้ำได้
7. พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) :
ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ เดินทางไปตามเส้นทาง ยะลา-หาดใหญ่ประมาณ 4 กม. ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหน้าถ้ำ เพราะภายในวัดมีถ้ำใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์โบราณขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่า สร้างมาแต่ปี พ.ศ. 1300 สมัยศรีวิชัย มีความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพ นาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระ พุทธไสยาสน์แบบหินยาน ชาวใต้ถือกันว่าเป็นปูชนียสถานที่ สำคัญ 1 ใน 3 ของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมือง นครศรีธรรมราช และพระธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อยเป็นรูปลักษณะต่างๆ เช่น ม่าน เศียรช้างเอราวัณ และมีน้ำไหลจากโขดหินธรรมชาติ ภายในถ้ำมีการติดตั้งไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวที่จะชมถ้ำมืดแห่งนี้ด้วย
8. มัสยิดกลางจังหวัดยะลา :
ประวัติความเป็นมามัสยิดกลางจังหวัดยะลาตั้งขึ้นครั้งแรก พ.ศ.๒๔๙๗ ในที่ดินของนายอุสมาน ดอฮะ โดยมีหะยีอับดุลฮามิด อับดุลซอมัดเป็นอิหม่าม มัสยิดนี้ชื่อว่า "มัสยิดเราฏอตุลยันนะห์" ใน พ.ศ.๒๔๙๙ รัฐบาลได้ให้งบประมาณสนับสนุนให้ขยายขนาดของอาคารมัสยิดให้จุคนได้ ๓๐๐ คน ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๒ รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ๒๘,๒๐๐,๐๐๐ บาท ขยายพื้นที่และสร้างอาคารมัสยิดดังเห็นอยู่ในปัจจุบัน อันเป็นอาคารที่ออกแบบโดยสถาปนิกของกระทรวงศึกษาธิการเป็นอาคาร ๓ ชั้น กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร หออาซานสูง ๓๘ เมตร
ความสำคัญต่อชุมชน
มัสยิดกลางจังหวัดยะลาเป็นศาสนสถานที่ชาวไทยมุสลิมได้ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ และที่ประชุมเพื่อศึกษาธรรม เป็นมัสยิดที่สง่างามและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวจังหวัดยะลา
เส้นทางเข้าสู่มัสยิดกลางจังหวัดยะลา
จากศาลากลางจังหวัดยะลา ไปตามถนนสิโรรส ประมาณ ๒ กิโลเมตร
Subscribe to:
Posts (Atom)